พวกเรารู้หรือไม่ว่าตัวต่อเลโก้ที่โดดเด่นที่สุดคือตัวไหน

ตัวต่อเลโก้ที่โดดเด่นที่สุดคือ ตัวต่อสีแดงแบบมีปุ่ม 4×2 ตัวต่อแบบนี้ 8 ตัวสามารถนำมาต่อรวมกันได้ถึง 915,103,765 รูปแบบ

การต่อแบบ Free Form ที่ปล่อยอิสระไปตามความคิด ทำให้มือและสมองทำงานสอดคล้องประสานกันอย่างดี ซึ่งจากกระบวนการต่อ Lego ที่สามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์ออกมาอย่างไม่จำกัดนั้น เกิดมาจากหลักการที่เรียกว่า Hand Knowledge คือการทำงานของมือกับสมอง เกิดขึ้นเเมื่อตอนลงมือต่อโมเดล Lego เราจะเริ่มได้เห็นและสัมผัสเป็นภาพ 3 มิติ ซึ่งในขณะที่ต่อ ตาที่มองเห็นทำงาน สื่อสารไปยังสมองให้เกิดความคิดต่อเนื่อง (Think – Build) และจากนั้นจะเข้าอยู่ในสภาวะการลื่นไหล (Flow) เมื่อหยิบจับตัวต่อก็จะสามารถลองเติม ปรับ พร้อมความคิดที่บรรเจิดใหม่ๆออกมา โดยกลไกที่แฝงไว้ในกระบวนการ LEGO® SERIOUS PLAY® นั้นคือ

1.พื้นที่ปลอดภัย “Psychological Safety” : กลไกสำคัญในการคิดสร้างสรรค์

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้กระบวนการ LEGO® SERIOUS PLAY® สามารถนำเราไปสู่จุดของความคิดสร้างสรรรค์ นั่นคือ

“การสร้างพื้นที่ปลอดภัย” กระบวนการ LEGO® SERIOUS PLAY®  เป็นการเล่นแบบจริงจัง ที่มีกฎ กติกา โดยสิ่งที่กระบวนการเน้นย้ำ คือ การฟังอย่างตั้งใจ กระบวนกร (Facilitator) มักบอกผู้เข้าร่วมว่า “เห็นด้วยตา ฟังด้วยใจ” หมายถึง ในขณะเพื่อนอธิบายโมเดล ให้ตั้งใจดูโมเดลของเพื่อน และฟังการอธิบายโมเดลด้วยใจไม่ตัดสิน พยายามเข้าใจในสิ่งที่เพื่อนต้องการสื่อจริง ๆ

พื้นที่ปลอดภัยยังเกิดขึ้นจาก คุณสมบัติของตัวต่อ Lego เอง ที่ให้ความรู้สึกถึงการไม่มีกรอบ ไม่มีผิดไม่มีถูก ผนวกกับกฎที่ถูกกำหนดตั้งแต่แรก ที่การตีความสามารถเป็นไปได้ทุกอย่างตามจินตนาการ รวมถึงกระบวนการที่ทุกคนได้มีโอกาสอธิบายความหมายของโมเดลที่ต่อออกมาเพื่อตอบคำถาม โดยมีเพื่อนคนอื่นๆที่อยู่ร่วมกลุ่มตั้งใจฟัง จึงเกิดเป็นพื้นที่ปลอดภัยซึ่งเป็นพื้นฐานที่มาของการเกิดความคิดสร้างสรรค์

2.ใช้การอุปมาอุปมัย “Metaphor” : สร้างจินตนาการ คุยเรื่องยากให้ง่ายขึ้น

อุปสรรคของการคิดสร้างสรรค์อีกอย่างคือการอธิบายความคิดให้ออกมาเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ลองคิดตามกับโจทย์นี้ ให้อธิบายคำว่า “ความซื่อสัตย์” ได้โจทย์นี้บางคนอาจจะต้องหยุดคิดสักนิด บางคนอาจจะบอกเลยว่าไม่รู้จะอธิบายยังไง แต่กับการใช้กระบวนการ LEGO® SERIOUS PLAY® เราจะได้ใช้คุณสมบัติของ Lego ทั้งรูปลักษณ์ สี ตัวละครรูปร่างต่างๆ เชื่อมโยงกับความคิด โดยใช้การอุปมาอุปมัย (Metaphor) เพื่อขยายความเรื่องราวต่างๆให้เป็นเรื่องราว (Story Telling) ทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

3.ไม่มีถูก ไม่มีผิด “No right or Wrong Answer” : ปลดปล่อยจินตนาการไม่จำกัด

หนึ่งในหัวใจหลักของกระบวนการ LEGO® SERIOUS PLAY® สิ่งสำคัญคือการทำให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม 100% ซึ่งการที่จะทำให้คนรู้สึกและอยากมีส่วนร่วม 100%นั้น ต้องเกิดจากการ สร้างบริบท (Set context) ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปตามข้อ 1 และ 2  การสร้างพื้นที่ปลอดภัย และ การใช้การอุปมาอุปมัย ทำให้ง่ายต่อการเชื่อมโยงกับความคิดมากขึ้น นอกจากนั้นสิ่งสำคัญที่จะถูกกล่าวไว้ตั้งแต่ตอนเริ่ม workshop คือ คำตอบทุกอย่าง ไม่มีถูก ไม่มีผิด ดังนั้นผู้เข้าร่วมไม่ต้องกังวล เพราะทุกคนต้องยอมรับอย่างไม่ติดสินในสิ่งที่ผู้เข้าร่วมได้อธิบายออกมาจากโมเดลของเค้า หลายคนเคยมีคำถามว่า แล้วแบบนี้จะคุยกันออกนอกทะเลไหม คำตอบคือไม่เลย เพราะ LEGO® SERIOUS PLAY® ถูกออกแบบมาด้วยการร้อยเรียงคำถาม และกฎที่ทุกคนต้องอธิบายและตอบโจทย์จากโมเดล ไม่ออกนอกเรื่อง ดังนั้นเนื้อหายังคงเป็นสิ่งที่อยู่ในโจทย์ แต่ลงลึกลงไปในแต่ละบุคคล ในช่วงเวลานี้คนจะเริ่มวางใจและสร้างสรรค์ นำเสนอ ให้มุมมอง ไอเดียดีๆออกมาอย่างไม่จำกัด

อ้างอิง : หนังสือเรื่อง Build a Better Business Using the Lego Serious Play Method

Show CommentsClose Comments

1018 Comments

Leave a comment