คงจะเคยได้ยิน Johari Window กันมาพอสมควรแล้ว สำหรับคนที่ไม่เคยได้ยิน สรุปสั้นว่าๆมันคือโมเดลที่แสดงให้เห็นว่าคนจะมีพื้นที่แบ่งเป็น 4 ช่อง พื้นที่เหล่านั้นเป็นที่อยู่ของตัวต่างมุม ขึ้นอยู่กับคนเราจะเลือกปิดบัง เปิดเผย หรือ  เข้าไปค้นหาเพิ่มเติม ประกอบด้วย

  1. Open Area : ทุกคนรู้ เป็นตัวตนที่เปิดเผยตรงไปตรงมา เรารู้และตั้งใจทำให้คนอื่นเห็นและเข้าใจได้ทันที ยิ่งเรามีท่าทีเปิดกว้าง คนอื่นรับรู้ได้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าคนอื่นก็จะตอบโต้ด้วยท่าทีเปิดเผยเหมือนกัน และทำให้เกิดความสนิทสนมกันง่ายขึ้น
  2. Blind Area : เราไม่รู้ แต่เขาดูออก เราเรียกพื้นที่นี้ว่า “พื้นที่บอด” คือเราไม่รู้ แต่คนอื่นเห็น เป็นมุมมองที่เราได้เคยสังเกตตัวเอง ส่วนใหญ่เป็นข้อเสียหรือจุดบกพร่อง แต่เราไม่ตระหนักรู้ มุมนี้ต้องได้รับการตักเตือน หรือให้คนอื่นมาชี้ให้เห็น
  3. Hidden Area : เรารู้อยู่คนเดียว เป็นตัวตนที่เรารู้อยู่คนเดียว เป็นพฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกให้ใครเห็น
  4. Unknown Area : ไม่มีใครรู้ เราเองก็ไม่รู้ว่าเรารู้ เป็นตัวตนที่รอการค้นพบ ซึ่งไม่รู้จะเจอหรือไม่ จะรู้ต่อเมื่อเกิดสถานการณ์ใหม่ๆ หรือเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงบางอย่างทำให้เราได้ไปค้นพบ
https://www.makingbusinessmatter.co.uk/johari-window-model/

Unknow Area เกิดจากอะไร?

“ผู้คนทั้งหลายไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพวกเขารู้อะไร” ผู้เขียนหนังสือ Build a Better Business Using the LEGO® SERIOUS PLAY® Method ได้กล่าวไว้

มันเป็นเพราะสมองของคนเรามีความสลับซับซ้อนมาก สมองของเราจะเก็บสิ่งที่เรารู้ไว้ในสมองส่วนลึก แต่องค์ประกอบอื่นๆถูกเก็บไว้ในส่วนของเปลือกสมอง (Cortex) หรือ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) เหมือนลิ้นชักที่เก็บความทรงจำไว้มากมาย แต่คนเรามันจะเปิดแต่ลิ้นชักที่เคยชิน ส่วนที่เราไม่ได้เปิดบ่อยมันก็จะถูกหลงลืมไป เราจึงไม่ตระหนักรู้ด้วยซ้ำว่าเรารู้อะไรบางอย่าง จนกว่าเราจะถูกกระตุ้นจากเหตุการณ์ใหม่ๆ หรือสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เราต้องดึงบางอย่างออกมาจากลิ้นชักที่ปิดตาย

LEGO® SERIOUS PLAY® กระบวนการที่ช่วยเปิดและเชื่อมโยงลิ้นชักที่ปิดตาย ให้มีคุณค่าขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยตัวกระบวนการ  LEGO® SERIOUS PLAY® ที่ผู้เข้าร่วมจะได้ต่อโมเดล Lego ที่ตอบโจทย์ ซึ่งโจทย์ส่วนใหญ่ก็แล้วแต่บริบทของการทำ Workshop ทั้งขององค์กร และเรื่องส่วนตัว

ตัวอย่างของโจทย์ในการทำเรื่ององค์กร เช่น “ต่อโมเดลที่แสดงถึงคุณค่าที่องค์กรของเราให้ความสำคํญ”

ตัวอย่างของโจทย์ในการทำส่วนบุคคล เช่น “ต่อจุดแข็งหรือสิ่งที่เรามีความสามารถ คุณสมบัติดีๆ ที่มีอยู่ในตัว”

รูปจากคลาส Better to the Best # รุ่น 9 : ค้นหาตัวตนผ่าน LEGO® SERIOUS PLAY®

แน่นอนว่าโจทย์พวกนี้ไม่ใช่สิ่งที่เราจะคุ้นชินตอบกันในชีวิตประจำวัน และยังต้องใช้การลงลึกเข้าไปสำรวจข้อมูล ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะถามมาแล้วตอบกลับได้ทันที และนี่คือจุดที่LEGO® SERIOUS PLAY® สามารถเข้ามามีบทบาทในการช่วยให้คนได้ขุดลึก ไปสำรวจ The Unknown Area

จากประสบการณ์ทำ LEGO® SERIOUS PLAY® workshop เมื่อไหร่ก็ตามที่ขึ้นโจทย์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เริ่มตอบคำถามด้วยการต่อโมเดล ปฏิกิริยาแรกที่เจอบ่อยครั้ง คือ “โอ๊ย ยากอ่ะ” , “คิดไม่ออกอ่ะ”, “จะต่ออะไรดี”, “ไม่รู้เริ่มยังไงดี” นั่นเป็นเพราะข้อมูลมันไม่ได้ถูกจัดระเบียบให้สามารถตอบกลับได้อัตโนมัติ

แต่ด้วยกระบวนการ Facilitator จะมีกฎตั้งแต่ต้นเลยว่า หากเจอโจทย์แล้วไม่รู้จะต่ออะไร ให้ไว้ใจความสามารถของมือและสมอง หยิบตัว lego ขึ้นมาแล้วลองค่อยๆต่อมันเข้าด้วยกัน จุดนี้เป็นจุดที่มือและสมองจะทำงานร่วมกัน ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Hand – Knowledge ทำการเรียบเรียงข้อมูล และไปค้นหาข้อมูล ซึ่งอาจไปเชื่อมโยงกับ The Unknown Area ได้โดยไม่รู้ตัว และเมื่อหมดเวลาในการต่อโมเดล รู้ตัวอีกครั้ง ก็ได้คำตอบ ที่บางครั้งเรายังประหลาดใจ ว่าความคิด ข้อมูลมันสามารถเรียบเรียงออกมา มีทั้งความรู้เดิม ความรู้ใหม่ สิ่งที่เคยรู้แต่ลืมไปแล้วว่ารู้ ทั้งหมดออกมาเป็นความคิดและไอเดียใหม่ๆได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ้างอิง : https://becommon.co/life/heart-johari-window/

https://www.makingbusinessmatter.co.uk/johari-window-model/

หนังสือเรื่อง Build a Better Business Using the Lego Serious Play Method

Show CommentsClose Comments

17264 Comments